วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558



ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศชต. คือหน่วยงานหลักของตำรวจในภารกิจดับไฟใต้ เดิมคือ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547  ภายหลังเหตุปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 เมื่อต้นปี 2547

    หน่วยงานในสังกัด ศชต. ครอบคลุมภารกิจสำคัญของตำรวจในพื้นที่ เช่น  ศูนย์พิทักษ์สันติ ศูนย์ข้อมูลวัตถุระเบิด  ศูนย์กฎหมายและสอบสวน  โรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข

พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ  ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบุว่า ภารกิจหลักของตำรวจในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตเมือง และชุมชนส่วนทหารรับผิดชอบในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ และเขตรอบนอก 

ตั้งแต่ช่วงต้นปีมีเหตุคาร์บอมเกิดขึ้นหลายครั้งในเขตเทศบาล แนวทางในการป้องกันเหตุคาร์บอม  มีการเฝ้าระวัง เช่น การตั้งจุดตรวจจุดสกัด  การจัดชุดไล่ล่าชุดต้องสงสัย  การตรวจค้นแหล่งเป้าหมาย และการใช้เทคโนโลยีในการเฝ้าระวังและติดตามรถต้องสงสัย    

นอกจากนี้ ผบ. ศชต. ยังชี้แจงถึงการเตรียมความพร้อมในการปฎิบัติตามมาตรา 21 ของ พรบ. ความมั่นคง ที่เปิดโอกาสให้ผู้หลงผิดมีโอกาสปรับตัวเป็นพลเมืองดี





ที่อยู่
  • ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา
  • Muang Yala, Yala, Thailand 95000
โทรศัพท์073 220 200 เว็บไซต์ http://www.sochoto.police.go.th/สถานะเปิดตลอดเวลา


อ้างอิงจากเว็บ https://www.google.co.th/search?q=

ตำรวจพลร่ม

ประวัติความเป็นมา

ของตำรวจตระเวนชายแดนพลร่มค่ายนเรศวร

 

        พ.ศ. 2495 – 2496 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ได้รับนโยบายให้ฝึกอบรมพลร่มขึ้นที่ค่าย เอราวัณ จังหวัดลพบุรี และเป็นการฝึกโดดร่มเป็นหน่วยแรก โดยมี พ.ต.อ. เจมส์ วิลเลี่ยมแลร์, ร.ต.อ. แจ๊ป เชอรี่ เป็นครูฝึก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกำลังพลรับสถานการณ์ภัยคุกคามของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นการฝึกแบบนอกแบบหรือแบบกองโจร จำนวน 11 รุ่น ระหว่างการฝึกคณะกรรมการและที่ปรึกษาได้เสนอหน่วยพิเศษพลร่ม พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจเห็นว่า ตำรวจพลร่มสามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายได้รวดเร็ว จึงได้อนุมัติให้ตั้งหน่วยตำรวจพลร่มขึ้น โดยมีความมุ่งหมายหลักขั้นต้น 2 ประการ
1. เตรียมกำลังตำรวจ เมื่อพร้อมที่จะปฏิบัติการต่อต้านหน่วยรบแบบกองโจร ตำรวจในสหพันธ์รัฐมลายูปฏิบัติอยู่ในขณะนั้น
2. เตรียมกำลังตำรวจโดยจัดให้ฝึกอบรมตำรวจพลร่มไว้ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองทัพต่าง ๆ ได้ในยามสงคราม
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2496 หน่วยตำรวจพลร่มก็ได้ถือกำเนิดโดยก่อตั้งขึ้นที่ค่ายนเรศวร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 27 เมษายน 2496 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดค่ายนเรศวร ทอดพระเนตรการแสดงโดดร่ม และสาธิตการใช้อาวุธพิเศษ ในการรบด้วยยุทธวิธี การรบแบบกองโจรของตำรวจพลร่ม จึงถือเป็น วันคล้ายวันสถาปนาค่ายนเรศวร

พ.ศ. 2503 ได้มีปรับโครงสร้างกรมตำรวจโดยยุบกองบังคับการยานยนต์หรือตำรวจรถถัง และให้หน่วยพลร่มค่ายนเรศวรอยู่ในสังกัด กองบัญชาการตำรวจชายแดน ผู้บังคับหน่วยคือ พ.ต.ต. ประเนตร ฤทธิฤาชัย ยกฐานะเป็น กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ “กก.สอ.” ขึ้น การบังคับบัญชากับฝ่ายสนับสนุนตำรวจภูธรชายแดนกองบัญชาการตำรวจภูธร (ชายแดน) กระทรวงมหาดไทย
 พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 130 ลง 22 เม.ย. 2515 ได้ปรับปรุงกองบัญชาการตำรวจภูธรใหม่ จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศจึงได้ขึ้นกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
 พ.ศ. 2529 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ย้ายที่ทำการไปอยู่ ณ อำเภอชะอำ จังหวัด เพชรบุรี ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ เล่มที่ 103 ตอนที่ 176 ลง 13 ตุลาคม 2529
 17 มิถุนายน 2548 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเล่มที่ 152 ตอนที่ 51 ก ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2548 เป็นกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ และ กองกำกับการ 1 – 4
 7 กันยายน 2552 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเล่มที่ ตอนที่ ลงวันที่ 2552 เป็นกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ประกอบด้วยฝ่ายอำนวยการ และ กก. 1 – 5 โดยเพิ่มเติม กองกำกับการ 5 รับผิดชอบงานป้องกันและระงับอัคคีภัย ในเขตพระราชฐาน จนถึงปัจจุบัน

อ้างอิงจากเว็บ http://www.pinthup.com/?page_id=79

ตํารวจตรวจคนเข้าเมือง




ประวัติสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

           ก่อนปี พ.ศ.2470 ไม่มีการจัดวางระเบียบกำกับ ตรวจตราคนต่างด้าวเข้ามาสู่ประเทศสยาม ฉะนั้น การเดินทางเข้า-ออกของคนต่างด้าวจึงเป็นไปโดยเสรี
           ในปี พ.ศ.2470 มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า โดยที่การจัดวางระเบียบ กำกับตรวจตราคนต่างด้าวเข้ามาสู่ประเทศสยามเป็นสิ่งที่ พึงปรารถนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2470 ขึ้นโดยมีเจ้าพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติการตามบท พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
          พ.ศ.2470 พร้อมจัดตั้งหน่วยงานเรียกว่า “กรมตรวจคนเข้าเมือง” ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทยและทรง พระกรุณาโปรดเปล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ นาย พันตำรวจเอก พระยาวิชัยประชาบาล (บุญโกย เอโกบล) เป็นเจ้ากรมกรมตรวจคนเข้าเมือง            ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2470 เป็นต้นไป และมีที่ทำการอยู่ที่ ถนนนเรศ เป็นอาคาร 2 ชั้น อยู่ใกล้ สน.บางรัก ในปัจจุบัน ขณะนั้นมี เจ้าพนักงานเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประมาณ 50-60 คน การเดินทางเข้า-ออก ของคนต่างด้าวส่วนใหญ่จะเข้ามาโดยพาหนะทางน้ำและทางบก มีศูนย์รวมอยู่ในกรุงเทพฯ และกองตรวจคนเข้าเมืองมณฑล ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ในภาคตะวันออกและภาคใต้
           ต่อมาวันที่ 10 มีนาคม 2474 มีพระบรมราชโองการในสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมว่า กรมตรวจ คนเข้าเมือง มีลักษณะติดต่อกับภารกิจตำรวจมากควรยกไปรวมขึ้นกับกรมตำรวจภูธร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนกรมตรวจคนเข้าเมือง ไปรวมขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของกรมตำรวจภูธร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2475 เป็นต้นไป โดยหน่วยงานในสังกัดยังคง มีเช่นเดิมและมีที่ทำการอยู่ที่เดิม (ถนนเรศ)
           ปี พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า สมควรจัดวางโครงการณ์กรมตำรวจขึ้นใหม่ เพื่อให้ได้ราชการดียิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าด้วยความแนะนำยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรให้เปลี่ยนชื่อ กรมตำรวจภูธร เป็น กรมตำรวจ และให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จัดแบ่งแผนกงาน รายย่อยออกไป ตามสมควรแก่รูปการ และเมื่อได้รับอนุมัติของคณะกรรมการาษฎรแล้วให้ถือว่าใช้ได้ ประกาศมา ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2475 (ประกาศ รจ.เล่ม 49 หน้า 492-493 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2475) ต่อมาได้มีประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดแบ่งแผนกงานรายย่อยในกรมตำรวจ โดยในส่วนที่ 1 กองบังคับการ แบ่งออกเป็น 6 กอง กองที่ 5 คือ กองตรวจเข้าเมือง มีหัวหน้าเป็นผู้กำกับการ 1 นาย แบ่งออกเป็น 4 แผนก คือ
           1.แผนกสารบรรณ
           2.แผนกบัญชี
           3.แผนกทะเบียนออกใบอนุญาต
           4.แผนกตรวจคนโดยสารและยานพาหนะ
           ประกาศมา ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2475 (ประกาศ รจ.เล่ม 49 หน้า 499-500 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2475) แต่ยังมีกองตรวจคนเข้าเมืองมณฑล ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ในภาคตะวันออกและภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง และมีที่ทำการอยู่ที่เดิม (ถนนนเรศ)
           ปี พ.ศ.2476 กองตรวจคนเข้าเมืองได้ปรับโครงสร้าง ครั้งที่ 1 ตาม พ.ร.ฏ.จัดวางระเบียบกรม ในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2476 โดย กองตรวจคนเข้าเมืองเป็นราชการกลาง แบ่งเป็น 4 แผนก คือ
           1. แผนกสารบรรณ
           2. แผนกบัญชี
           3. แผนกทะเบียน
           4. แผนกตรวจคนโดยสาร
           ประกาศมา ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2476 (ประกาศ รจ.เล่ม 50 หน้า 202 วันที่ 23 พฤษภาคม 2476) และมีการเปลี่ยนชื่อจากกองตรวจคนเข้าเมืองมณฑล เป็นด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด แต่ยังคงมีด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอ ในภาคตะวันออกและภาคใต้ อยู่ในสังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง และมีที่ทำการอยู่ที่เดิม (ถนนนเรศ)

 


อ้างอิงจากเว็บ http://immigrationdiv6.go.th/index.php?cmd=about5

ตำรวจ นปพ.


หน่วยปฏิบัติการพิเศษ นปพ.



   หน่วยปฏิบัติการพิเศษ นปพ. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ประจำตำรวจภูธรภาค 1-9, ประจำกองบังคับการ, ประจำตำรวจภูธรจังหวัด, ประจำสถานีตำรวจทุกหน่วย ตัวย่อ “นปพ.” ย่อมาจาก”หน่วยปฏิบัติการพิเศษ” เป็นหน่วยงานตำรวจ มีภารกิจหลักในช่วงแรก คือ การปราบปรามคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พศ.2510 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ละจังหวัด และภาค ที่สนับสนุนกำลังทางด้านยุทธวิธี มีการฝึกฝนที่เข้มข้นมากว่าตำรวจปกติ โดยได้รับการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษในการช่วยเหลือตัวประกันจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 และเสริมเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อรินทราช 26 อีกส่วนหนึ่ง หน่วยนี้จึงมีความพร้อมเกี่ยวกับยุทธวิธีตำรวจในระดับภาค และจังหวัด ตำรวจภูธรภาค จะมี หน่วยคอมมานโด ของตัวเองอีกซึ่งคนละหน่วยกับ นปพ.ของ ภูธรจังหวัด นปพ.หรือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ จะใส่ หมวกแบเรต์เขียว ชุดสนามสีเขียว แต่ได้รับการฝึกยังไม่เข้มข้นเท่า คอมมานโด หรือ หน่วยปฏิบิติการพิเศษของภาค (แต่ละภาคมีหลายจังหวัด) ซึ่งทั้งสองหน่วยนี้ทำหน้าที่คล้ายๆเป็น หน่วยสวาท(SWAT) แต่ขีดความสามารถของ นปพ.จังหวัด นั้นด้อยกว่า นปพ.ภาค เพราะว่า นปพ.บางจังหวัด อาจไม่มีการฝึก CQB Close Quarter Battle “หลักสูตรเทคนิคและยุทธวิธีการปฏิบัติการตอบโต้แบบฉับพลันในระยะประชิด (จู่โจม)” หรือการชิงตัวประกัน ขึ้นอยู่กับ งบประมาณ และความจำเป็นด้วย ตัวอย่างเช่นจังหวัดที่มักมีอาชญากรรมร้ายแรง หรือ จังหวัดใหญ่ ๆ จำเป็นต้องฝึก นปพ.ให้มีขีดความสามารถสูงๆเพราะต้องทำหน้าที่หน่วยสวาท ไว้รับมือกับพวก อาชญากรที่มีอาวุธปืนร้ายแรง


ตำรวจไทย


ตำรวจไทย หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ตำรวจแห่งชาติ (อังกฤษRoyal Thai Police) เป็นตำรวจแห่งชาติของประเทศไทย ประกอบด้วย บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เป็นผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงในการดูแลคุ้มครอง ให้เกิดความสงบสุขแก่พลเมืองของประเทศ
ชื่อเรียกตำรวจในประเทศไทย
คำว่า โปลิศ เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษคือ Police ใช้เรียกผู้ทำหน้าที่ตำรวจที่จัดตั้งอย่างเป็นองค์กรเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้นายร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ด เอมส์ เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศเมื่อ พ.ศ. 2403 มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศแทนข้าหลวงกองจับและกองตระเวนซ้ายขวา องค์กรตำรวจที่ตั้งขึ้นใหม่นี้โดยมากจ้างพวกแขกมลายูและแขกอินเดียมาเป็นตำรวจเรียกกองตำรวจนี้ว่ากองโปลิศคอนสเตเบิ้ล ต่อมาจึงมาใช้คนไทย
คำว่า พลตระเวน เป็นคำที่แปลงคำเรียกตำรวจอีกคำหนึ่งคือ COP ย่อมาจาก Constable of Patrol เป็นคำภาษาอังกฤษ แปลว่า ตำรวจลาดตระเวน หรือ พลตระเวน โดยหลังจากที่ทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯตั้งกองโปลิศ เมื่อปี พ.ศ. 2403 แล้ว ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อกองโปลิศ เป็นกองพลตระเวน ซึ่งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ มีองค์กรที่ทำหน้าที่ตำรวจ 2 หน่วย คือ กองพลตระเวนขึ้นกับกระทรวงนครบาล กับกรมตำรวจภูธร ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ทั้ง 2 หน่วยนี้ต่างทำหน้าที่เป็นตำรวจเช่นเดียวกัน ต่อมา พ.ศ. 2458 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ รวมกองพลตรวะเวนกับกรมตำรวจภูธร เรียกชื่อว่า "กรมตำรวจ"


อ้างอิงจากเว็บ